วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

วารินทร์ สายโอบเอื้อ (2529:42) ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ คือ
      1. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเปลี่ยนแง่ดี หรือไม่ได้ก็ได้ ดังนั้น การเรียนรู้จึงมีความหมายกว้างกว่า การศึกษา เพราะการศึกษานั้นเป็นการจัดระบบการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรู้เปลี่ยนพฤติกรรมไปในที่ดี   การศึกษาจึงหมายเฉพาะด้านดีเท่านั้น ส่วนการเรียนรู้อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
        2. การเรียนรู้จะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น อ้วนขึ้น ผอมลง สูงขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นไข้ ติดเชื้อบางอย่างหรือร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรือพิการ ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
        3. การเปลี่ยนแปลงที่เนื่องมาจากการเรียนรู้นั้นจะต้องมีลักษณะค่อนข้างถาวร คือมีความคงทนเป็นระยะเวลานาน ดั้งนั้นการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น ความเหนื่อย การติดเชื้อบางอย่าง การเปลี่ยนแปลงเพราะฤทธิ์ของยา จึงไม่ใช่การเรียนรู้ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวเท่านั้นดังได้กล่าวมาแล้วว่าขบวนการเรียนรู้มีลักษณะเช่นเดียวกับขบวนการพัฒนาการ กล่าวคือ เป็นในลักษณะเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญในการกระทำกิจกรรมต่างๆซึ่งเป็นขบวนการที่ต่อเนื่องสะสมกันไปตลอดชีวิต ดังนั้น พฤติกรรมและความสามารถด้านต่างๆของคนเราในปัจจุบันเป็นผลมาจาก สรรถภาพตามธรรมชาติหรือพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ (Maturity) และผลจากการเรียนรู้ในอดีตด้วย

พงษ์พันธุ์  พงษ์โสภา (2542:79) ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ คือ
        การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงของการศึกษา จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และการประพฤติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm)ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ คือ
        การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้นหากเราจะเปรียบเทียบองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้

สรุป
        การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเปลี่ยนแง่ดี หรือไม่ก็ได้ และอาจเป็นผลมาจากประสบการณ์ การฝึกหัด การเรียนรู้นั้นจะต้องมีลักษณะค่อนข้างถาวร คือมีความคงทนเป็นระยะเวลานาน 

ที่มา
วารินทร์ สายโอบเอื้อ.  (2529).  จิตวิทยาการศึกษา.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามยูเนี่ยน พริ้นติ้ง.
พงษ์พันธุ์  พงษ์โสภา.  (2542).  จิตวิทยาการศึกษา.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาการศึกษา.
เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน.[online] http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm.
             องค์การแห่งการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2558.


วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

ประดินันท์ อุปรมัย (http://teacher.aru.ac.th/thanee/images/stories/word/learning123.pdf)
     ให้ความหมายของการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์โดยการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิม แตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
สุรางค์ โค้ว ตระกูล (http://www.slideshare.net/unyaparn/learning-12074199)
     ให้ความหมายของการเรียนรู้ คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวรซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจาก ประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด
เสรี วงษ์มณฑา (https://th-th.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056)
     ให้ความหมายของการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลง ด้านสมอง คือไม่รู้ได้รู้ ไม่เข้าใจได้เข้าใจ ไม่ตระหนักได้ตระหนัก ด้านความรู้สึก คือไม่ชอบเป็นชอบ ชอบน้อยเป็นชอบมาก ชอบเป็นไม่ชอบ เกลียดน้อยเป็นเกลียดมาก ด้านพฤคิกรรม คือทำไม่เป็นกลายเป็นทำเป็น ทำไม่เก่งเป็นทำเก่ง ไม่เคยทำหันมาทำ เคยทำอยู่แล้วเลิกทำ เคยนานๆทำทีกลายเป็นทำบ่อยๆ
สรุป
     ความหมายของการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวรซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสมองคือไม่รู้ได้รู้ ไม่เข้าใจได้เข้าใจ ไม่ตระหนักได้ตระหนักด้านความรู้สึก คือไม่ชอบเป็นชอบ ชอบน้อยเป็นชอบมาก ชอบเป็นไม่ชอบ เกลียดน้อยเป็นเกลียดมาก ด้านพฤติกรรม คือทำไม่เป็นกลายเป็นทำเป็น ทำไม่เก่งเป็นทำเก่ง ไม่เคยทำหันมาทำ เคยทำอยู่แล้วเลิกทำ เคยนานๆทำทีกลายเป็นทำบ่อยๆ การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลมีผลเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ การเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิม แตกต่างไปจากเดิม เกิดขึ้นได้จากทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ที่มา
ประดินันท์ อุปรมัย.[online] http://teacher.aru.ac.th/thanee/images/stories/word/learning123.pdf.การเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ18 มิถุนายน 2558.
สุรางค์ โค้ว ตระกูล.[online] http://www.slideshare.net/unyaparn/learning-12074199.การเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2558.
เสรี วงษ์มณฑา.[online] https://th-th.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056.ความหมายของการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2558.