วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้


อารี พันธ์มณี (2534 : 88)
เขียนเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ไว้ว่า ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dollard and Miller) กล่าวว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
1. แรงขับ (drive) เกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ ขาดสมดุล เช่น ขาดอาหาร ขาดน้ำ ขาดการพักผ่อน ฯลฯ ภาวะเหล่านี้จะกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมเพื่อปรับให้อินทรีย์อยู่ในสภาพสมดุลอย่างเดิม แรงขับมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1.1. แรงขับพื้นฐาน (Primary Drive)  เกิดเนื่องจากความต้องการที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต เป็นความต้องการทางร่างกายต่างๆที่เกิดขึ้น พร้อมๆ กับการมีชีวิตของคน
1.2. แรงขับที่เกิดจากากรเรียนรู้ (Secondary Drive) เกิดขึ้นภายหลังเป็นความต้องการทางสังคม เช่น ความรัก ฐานะทางสังคม ความมั่นคงปลอดภัย
2. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อินทรีย์แสดงกิจกรรมโต้ตอบออกมา เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของร่างกาย
3. การตอบสนอง (Response) เป็นพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่อินทรีย์แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้าไปเร้าการเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการทำให้สิ่งเร้าและการตอบสนองมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เข่น เมื่อนักเรียนทำเลขถูกก็เสริมแรงโดยให้รางวัล การเสริมแรงนี้จะทำให้นักเรียนอยากเรียน (ทำเลข) ในคราว ต่อไป

มาลินี จุฑารพ (2537 : 69-71)
เขียนเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น มีคุณประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ เมื่อบุคคลได้เรียนรู้ย่อมมีการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติอันจะนำมาซึ่งชีวิตที่มีคุณภาพ สังคมที่พัฒนา และประทศชาติที่ได้รับการพัฒนา สำหรับองค์ประกอบของการเรียนรู้นั้น ได้มีนักวิชาการกล่าวถึงองค์ประกอบของการเรียนรู้ไว้มากมาย เช่น องค์ประกอบของการเรียนรู้ตามแนวคิดของ ครอนบาค (Cronbach,1954)
ครอนบาค ได้ให้แนวคิดว่าองค์ประกอบของการเรียนรู้มี 7 ประการได้แก่
1. จุดประสงค์ (Goal) การเรียนวิชาใดๆ ก็ตามควรกำหนดจุดประสงค์ไว้ เช่น ตามที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละวิชา และให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ครู-อาจารย์จึงได้ประเมินผลตามจุดประสงค์ดังกล่าว ถ้านักเรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ใดก็ให้เรียนซ้ำจนกว่าจะผ่านจุดประสงค์นั้น
 2. ความพร้อม (Readiness) ก่อนการเรียนวิชาใดๆก็ตาม ผู้เรียนจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อุปกรณ์การเรียนและสิ่งแวดล้อม การเตรียมตัวให้พร้อมย่อมจะช่วยให้การเรียนรู้ดำเนินไปด้วยดี ดังคำกล่าวที่ว่าการเตรียมตัวให้ดีเท่ากับการมีชัยไปกว่าครึ่ง
3. สถานการณ์ (Situation) ได้แก่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ เช่น ในห้องเรียนจะได้แก่ ครู บทเรียน สื่อการสอน สภาพอากาศ และมลพิษต่างๆ (ถ้ามี) สำหรับการเรียนรู้ในห้องสมุด หรือสถานที่นอกห้องเรียน บรรยากาศ ได้แก่ บทเรียน สภาพสื่อการสอน สภาพอากาศ มลพิษต่างๆ ทั้งทางเสียง แสง กลิ่น และภยันตรายต่างๆ ถ้าสถานการณ์เป้นบวกสำหรับผู้เรียนจะช่วยในการเรียนรู้ได้ดี ในทางตรงข้ามถ้าสถานการณ์เป็นลบจะเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้
4. การแปลความหมาย (Interpretation) เมื่อผู้เรียนได้พบกับสถานการณ์อาจจะในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็ตาม ผู้เรียนจะต้องสัมผัส เช่น ตาดู หูฟัง ใช้ลิ้น และหรือมือสัมผัส ในบรรดาสิ่งเร้า คำสั่ง หรือเนื้อหาสาระต่างๆ แล้วจะต้องแปลความหมายให้ถูกต้อง เป็นความเข้าใจที่ตรงกัน ได้นำไปใช้ ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ในทางตรงข้ามถ้าผู้เรียนแปลความหมายเบี่ยงเบนไป ผลก็คือเกิดการรับรู้ที่ผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าผู้เรียนได้ตรวจสอบการแปลความหมายของตนให้ถูกต้องแล้ว จะช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
5. การตอบสนอง (Response) เมื่อผู้เรียนได้แปลความหมายของสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนจะตัดสินใจแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการบวก แล้วต่อไปครูได้รับมอบหมายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ผูเรียนก็จะลงมือทำและทำได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ก็เกิดขึ้นได้
6. ผลต่อเนื่อง (ConseQuence) เป็นผลต่อเนื่องจากการตอบสนอง ถ้าการตอบสนองตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น เมื่อครู อาจารย์ประเมินผลก็ปรากฏว่านักเรียนผ่านจุดประสงค์ต่างๆ ตามที่กำหนดเป็นขั้นต่ำไว้ ครู อาจารย์ยอมรับว่านักเรียนมีผลต่อเนื่องดีและได้เกิดการเรียนรู้แล้ว ในทางตรงข้ามถ้าผู้เรียนตอบสนองไม่ดี หรือการประเมินผลสรุปได้ว่าผู้เรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ ย่อมแสดงว่าผลต่อเนื่องไม่ดี ผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้
7. ปฏิกิริยาต่อการขัดขวาง (Reaction to thwarting) เมื่อผู้เรียนได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการเรียนรู้จากการกำหนดจุดประสงค์การเตรียมความพร้อม การพบกับสถานการณ์ การแปลความหมาย การตอบสนอง และผลต่อเนื่องที่ได้รับมา ถ้าผลต่อเนื่องเป็นที่พึงพอใจและสอดคล้องกับจุดประสงค์ข้างต้น การเรียนรู้ก็เกิดขึ้น ในทางตรงข้ามถ้าผลต่อเนืองไม่เป็นที่น่าพึงพอใจและหรือไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน การเรียนย่อมไม่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เรียนพบกับปัญหาและอุปสรรค ผูเรียนจะต้อกลับไปเริ่มต้นนับ ใหม่ จนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จ หรือถ้ายอมแพ้อาจจะเปลี่ยนบทเรียนหรือขอถอยวิชานั้นๆไป เพื่อไปเรียนวิชาใหม่ก็ได้

แก้วกล้า มิชัยโย (http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1
เขียนเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ไว้ว่า
 กมลรัตน์  หล้าสุวงษ์ ( 2524:132)  กล่าวว่า  องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย  3  องค์ประกอบ  คือ
1.  ผู้เรียน  (The  Learner)
2.  สิ่งเร้า  (Stimulus )  หรือสถานการณ์ต่าง    โดยสิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวผู้เรียนหรือสถานการณ์ต่าง    หมายถึงสถานการณ์หลาย    อย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน
3.  การตอบสนอง  (Response)เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้าแต่ในขณะที่  

เชียรศรี  วิวิธสิริ  (252723-24)  กล่าวว่า  สิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  3  ประการ  คือ
1.  ตัวผู้เรียนต้องมีความพร้อม  มีความต้องการที่จะเรียน  มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว  และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่จะเรียน
2.   ตัวครูจะต้องมีบุคลิกภาพดี  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี  มีวิธีการเทคนิคที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้หลายวิธี  และแต่ละวิธีที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละเนื้อหาวิชา  และต้องรู้จักการใช้สื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่จะสอน  เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจง่าย
3. สิ่งแวดล้อม  ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี  มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  มีสถานที่เรียน  ตลอดจนอุปกรณ์  เช่น  ม้านั่ง  โต๊ะเรียนที่อำนวยความสะดวก  และเหมาะสม  สถานที่เรียนต้องมีบรรยากาศถ่านเทดี  อยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน  และแหล่งเสื่อมโทรมต่าง    ทางไปมาสะดวก

ปราณี  รามสูต  (252879-82)  กล่าวว่า  องค์ประกอบที่ส่งเสริมการเรียนรู้นั้นแบ่งออกเป็น  4  องค์ประกอบ  คือ
1. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับผู้เรียน  ได้แก่  วุฒิภาวะ  และความพร้อม  ในการเรียนรู้ใด   ถ้าบุคคลถึงวุฒิภาวะและมีความพร้อมจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ  และไม่มีความพร้อมความสามารถมนการเรียนรู้จากเด็กวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อย    จากวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่จะคงที่จากวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราจะลดลง  ประสบการณ์เดิม ความบกพร่องทางร่างกาย  ยิ่งมีความบกพร่องมากเท่าใด ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ก็น้อยลงเท่านั้น  แรงจูงใจในการเรียน  เช่น  รากฐานทางทัศนคติต่อครู  ต่อวิชาเรียน  ความสนใจและความต้องการที่อยากจะรู้อยากเห็นในส่วนที่เรียน
2.   องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบทเรียน  เช่น  ความยากง่ายของบทเรียนถ้าเป็นบทเรียนที่ง่ายผลการเรียนรู้ย่อมดีกว่าการมีความหมายของบทเรียน  ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งมีมีความหมายเป็นที่สนใจของเขา  ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู่ได้ดีกว่า ความยาวของบทเรียน  บทเรียนสั้น    จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าบทเรียนที่ยาว  ตัวรบกวยจากบทเรียนอื่น  หรือจากกิจกรรมอื่น  จะขัดขวางการเรียนรู้ในสิ่งนั้น    ไม่ว่าตัวรบกวนนั้นจะเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการเรียนรู้
3.   องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวิธีเรียนวิธีสอน  เช่น  กิจกรรมในการเรียนการสอน  ครูควรเลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน  ตามเนื้อหาวิชาและโอกาส  การให้รางวัลและลงโทษ  เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน  การให้คำแนะนำในการเรียน  โดยครูแนะนำให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีขึ้น
4.  องค์ประกอบการสิ่งแวดล้อมอื่น    เช่น  สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา  ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน  ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน  ระหว่างนักเรียนกับครู  สภาพของโต๊ะ  เก้าอี้  ทิศทางลม  แสงสว่าง  ความสะอาด ความเป็นระเบียบ

วนิช  บรรจง  และคณะ  (2514:87)  กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ดังนี้
1. การจูงใจ  การเรียนรู้ต้องมีมูลเหตุจูงใจ  ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียน  การจูงใจอาจทำได้โดยการให้รางวัลและลงโทษ  การให้คะแนน  การยอมรับนับถือจากผู้อื่น  ความสำเร็จในการงาน  การรู้จุดมุ่งหมายของการเรียน
2.  ตัวครู ต้องเป็นคนดีในทุก ๆ ด้าน ควรเป็นผู้ที่รักในวิชาที่ตนสอนและต้องปลูกฝังความรักความสนใจและความเข้าใจในตัวเด็ก สนใจผู้เรียน นอกจากนี้ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ของการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของลักษณะวิชา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์
3.  สิ่งแวดล้อมทั้งทางครอบครัว และทางโรงเรียนโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เช่น สภาพของห้องเรียนที่น่าอยู่น่าอาศัย อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบทเรียน
4.  อุปกรณ์การศึกษาหรือเครื่องมือที่ครูนำมาประกอบการสอน ช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายทางช่วยเร้าความ สนใจแก่ผู้เรียน ตลอดจนทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจเรียน ไม่เบื่อหน่ายและรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5.  วินัย เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อย และมีความสุขช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. การวัดและการประเมินผลการศึกษา จะช่วยให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนได้อย่างแจ่มชัด ทำให้สามารถปรับปรุงผลการเรียนทั้งรายบุคคลและส่วนรวมได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่านักเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์แระกอบแรกของการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ที่รู้ด้วยตนเอง พบเอง เห็นเอง และเปลี่ยนประสบการณ์และพฤติกรรมด้วนตนเอง นอกจากนี้ในการเรียนรู้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะมนุษย์เรามีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความถนัด ความแตกต่างทั้ง 5 ด้านนี้ เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยตรง อันจะเป็นผลให้มนุษย์เรามีการรับรู้ได้แตกต่างกัน

     สรุป
               การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด หรือมีประสิทธิภาพเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1. ผู้สอน
2. กิจกรรมการเรียนการสอน
3. ผู้เรียน
ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบนี้ย่อมมีความสำคัญในด้านผู้สอนจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความพร้อมในเนื้อหาที่จะสอน และจะต้องใช้จิตวิทยามาใช้ในการสอน เช่นการใช้แรงจูงใจ ตัวเสริมแรง หรือสิ่งเร้า เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ดี ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ มีกิจกรรมที่เสริม เช่น การเล่นเกม ร้องเพลง เพื่อทำให้เด็กไม่เกิดการตึงเครียดมากเกินไป และในด้านผู้เรียนครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้สอนควรคำนึงถึงองค์ประกอบเหล่านี้เป็นสำคัญ

อ้างอิง
อารี พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัท เลิฟแอนด์ลิฟเพรส จำกัด.
มาลินี จุฑารพ. (2537). จิตวิทยาการเรียนการสอนกรุงเทพฯทิพย์วิสุทธิ์.
แก้วกล้า มิชัยโย.[online] http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php? topic_id=13741&hit=1.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2558.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น